อินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

มาตราการป้องกันอันตรายจากหม้อไอน้ำ


มาตราการป้องกันอันตรายจากหม้อไอน้ำ

ด้วยอุณหภูมิที่พุ่งขึ้นสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยของภูมิอากาศในฤดูร้อนบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว อากาศร้อนๆ แบบนี้ ยังดีกว่าอากาศหนาวจับใจในเดือนที่ผ่านมา เพราะยังไงๆ ก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่เพราะความวิปริตผิดฤดูที่ชวนให้คิดถึงบรรยากาศในหนังประเภท ‘The day after tomorrow’ เป็นไหนๆ ว่าไหม

สำหรับเรื่องที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และเลือกใช้หม้อไอน้ำหรือ Boiler และก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องรายละเอียด ก็ขออนุญาตทวนความจำกันสักเล็กน้อย เกี่ยวกับความเป็นมาของเจ้าหม้อไอน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล

โดยบุคคลแรกที่ริเริ่มเอาไอน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เครื่องยนต์และถ่ายเทความร้อน ก็คือ เจมส์ วัตต์ (James Watt) วิศวกรชาวอังกฤษ ซึ่งได้คิดค้นดัดแปลงเครื่องจักรไอน้ำที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ รถจักรไอน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นยุคเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมของโลกเลยก็ว่าได้

ซึ่งหม้อไอน้ำ (Boiler) นี้ ก็คือ เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ภายในประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนเก็บน้ำและส่วนเก็บไอน้ำ ผลลัพธ์ที่ได้คือพลังไอน้ำและความร้อน จัดว่าเป็นเครื่องจักรที่มีอันตรายสูง ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลหม้อไอน้ำจึงควรที่จะมีความรู้เพียงพอ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดการระเบิดและก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

ส่วนการทำงานของหม้อไอน้ำไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามแต่ จะมีหลักการทำงานเหมือนกัน นั่นก็คือ หลังจากที่ได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อน ไม่ว่าจะเป็นจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ไฟฟ้าหรือพลังงานนิวเคลียร์แล้ว ก็จะส่งผ่านความร้อนไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำ จนกระทั่งน้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำ หลังจากที่ได้ทวนความจำกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราก็มาว่ากันถึงเรื่องรายละเอียดของความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำกันดีกว่า

1. อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยหม้อไอน้ำ

แม้ว่าหม้อไอน้ำจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถที่จะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเพิ่มเข้าไปด้วย ดังนี้
1.1 ลิ้นนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของหม้อไอน้ำ ใช้สำหรับป้องกันหม้อไอน้ำระเบิด เนื่องจากความดันสูง โดยทำหน้าที่ระบายไอน้ำออกไปภายนอก เมื่อเกิดภาวะที่ความดันภายในหม้อน้ำสูงเกินกว่าที่ตั้งไว้ โดยลิ้นนิรภัย มี 3 แบบ คือแบบสปริง แบบน้ำหนักถ่วงโดยตรง และแบบคานน้ำหนัก โดยการเลือกใช้ควรเลือกลิ้นนิรภัยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่าลิ้น ไม่ต่ำกว่า ½ นิ้ว และควรติดตั้งลิ้นนิรภัยไว้ใกล้หม้อไอน้ำมากที่สุด และไม่มีวาล์วคั่น ในกรณีที่หม้อไอน้ำมีพื้นที่รับความร้อนมากกว่า 500 ตารางฟุต ควรมีลิ้นนิรภัย 2 ชุด

1.2 ฝานิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ใช้กับหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซ ช่วยป้องกันแรงกระแทกที่เกิดจากการระเบิดของแก๊สที่ค้างอยู่ในห้องเผาไหม้ มิฉะนั้นแล้วชุดหัวฉีดจะชำรุดได้ สามารถติดตั้งได้ที่ด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังของหม้อไอน้ำ

1.3 เครื่องควบคุมระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งไว้กับหม้อไอน้ำทุกเครื่อง โดยเฉพาะหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนด นิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ แบบอิเล็กโทรด และแบบลูกลอย

1.4 สวิตซ์ควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือตั้งไว้ การทำงานจะอาศัยความดันควบคุมหัวฉีด

1.5 เครื่องดักไอน้ำ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับระบายน้ำที่ค้างอยู่มากในท่อ ให้ออกไปภายนอก สาเหตุที่ควรติดตั้ง เพราะไอน้ำที่ออกจากหม้อไอน้ำ เมื่อสัมผัสกับท่อจ่ายไอน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำค้างอยู่ตามท่อ ถ้าปริมาณน้ำที่ค้างอยู่มาก ก็จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้ประสิทธิภาพของไอน้ำลดลง

1.6 สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์แจ้งอันตรายเมื่อระดับน้ำในหม้อน้ำต่ำกว่าที่ใช้งานปกติ โดยสามารถที่จะติดตั้งร่วมกับเครื่องควบคุมระดับน้ำ หรือบางชนิดอาจติดตั้งแยกต่างหากก็ได้ โดยสัญญาณที่เตือนภัยมีทั้งที่เป็นแบบเสียง และแบบแสง

2. อุบัติเหตุจากหม้อไอน้ำ

อุบัติเหตุจากหม้อไอน้ำที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ หม้อไอน้ำระเบิด ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีชิ้นส่วนของโครงสร้างหม้อไอน้ำฉีกขาด อันเนื่องมาจากความดันที่สูงเกินไปของไอน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนจากบริเวณท่อไฟใหญ่ ผนัง และเปลือก ความรุนแรงของไอน้ำที่สูงเกินได้พุ่งออกมาจะมีเสียงดังสนั่นคล้ายกับระเบิด ซึ่งสาเหตุของหม้อไอน้ำระเบิดพอที่จะสรุปได้ดังนี้
2.1 เลือกใช้ประเภทของหม้อไอน้ำไม่เหมาะสมกับประเภทงานที่ใช้
2.2 หม้อไอน้ำที่ใช้ไม่ได้มาตราฐานความปลอดภัย ทั้งในส่วนของวัสดุ แบบโครงสร้าง และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
2.3 ใช้งานหม้อไอน้ำที่ความดันสูงกว่าที่กำหนด โดยการปรับตัวลิ้นนิรภัยให้ระบายไอน้ำที่ความดันสูงเกินไป
2.4 ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำไม่มีความรู้ ความชำนาญเพียงพอในการปฏิบัติงานควบคุม
2.5 ขาดการดูแล ตรวจสอบ บำรุงรักษาหม้อไอน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย
2.6 น้ำที่ใช้ป้อนเข้าไปในหม้อไอน้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เช่น มีความกระด้างมากเกินไป มีภาวะความเป็นกรด-ด่าง มีสารละลายในน้ำ หรือมีตะกอนและความขุ่นมากเกินไป เป็นต้น
2.7 มีการดัดแปลงอุปกรณ์หม้อไอน้ำโดยขาดความชำนาญ และไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
2.8 ทำการติดตั้งไม่ถูกหลักความปลอดภัย และสถานที่ติดตั้งไม่เหมาะสม
2.9 ซื้อหม้อไอน้ำมือสองหรือหม้อน้ำเก่ามาใช้ โดยพิจารณาไม่ถี่ถ้วนถึงสภาพการใช้งาน ซึ่งถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก
2.10 เมื่อเกิดปัญหาการใช้งานหม้อไอน้ำแล้ว ผู้ที่ทำการซ่อมแซมขาดความเข้าใจ ไม่รอบคอบ



3. มาตราการป้องกันอันตรายจากหม้อไอน้ำ

3.1 การเลือกหม้อไอน้ำ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ควรทำการตรวจสอบว่างานที่เราจะนำเอาหม้อไอน้ำไปใช้นั้น ต้องการคุณสมบัติของหม้อไอน้ำอย่างไรบ้าง เช่น ขนาด โครงสร้าง อุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ลักษณะการติดตั้ง การตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงสามารถทำได้ง่ายหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด โดยในกรณีที่เป็นหม้อไอน้ำใหม่ ควรมีการพิจารณาดังนี้


1). การเลือกซื้อหม้อไอน้ำที่ผลิตจากต่างประเทศ ควรจะพิจารณาว่าได้รับมาตราฐานคุณภาพสินค้าใดๆ บ้างหรือไม่ เช่น ASME (The American Society of Mechanical Engineering) BS (British Standard) DIN (Deutsches Institute Fur Normung) JIS (Japanese Industrial Standard) หรือมาตราฐานอื่นๆ จากประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ

2). การเลือกซื้อหม้อไอน้ำที่ผลิตในประเทศ ควรเลือกซื้อจากบริษัทหรือโรงงานที่เชื่อถือได้ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีวิศวกรจากบริษัทผู้ขายที่สามารถให้คำแนะนำและติดตั้งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการบริการหลังการขายที่ดี ตรวจสอบและพิจารณาดูถึงวัสดุและอุปกรณ์ของหม้อไอน้ำ ว่าเหมาะสมกับประเภทของงานที่จะนำไปใช้หรือไม่

ส่วนในกรณีที่เป็นหม้อไอน้ำเก่า ควรจะพิจารณาอย่างละเอียดเป็นพิเศษ โดยจัดหาวิศวกรผู้มีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะมาตรวจสอบโครงสร้าง ส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ ว่ามีครบถ้วนและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่เพียงใด และมีการทดสอบการใช้งานจริงก่อนตัดสินใจซื้อ

3.2 การใช้งานและการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ
- การติดตั้งหม้อไอน้ำควรคำนึงถึงสถานที่ที่ใช้ติดตั้งและขนาดของหม้อไอน้ำ ศึกษาคู่มืออย่างละเอียด ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ติดตั้งให้
- ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ควรมีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ
- มีการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของหม้อไอน้ำอยู่เสมอ ทั้งก่อนและหลังใช้งาน
- มีการบำรุงรักษาส่วนประกอบและอุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยมีการจดบันทึกรายงานเป็นหลักฐาน พร้อมสรุปผลการตรวจสอบให้ฝ่ายบริหารทราบ
- อย่าใช้งานหม้อไอน้ำจนเกินกำลัง หรือดัดแปลงโดยไม่ถูกหลักวิศวกรรม
- เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับการใช้งานหม้อไอน้ำ ควรปรึกษาวิศวกรของบริษัทผู้ขายหม้อไอน้ำ อย่าลงมือแก้ไขเองอาจจะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

3.3 การตรวจทดสอบความปลอดภัยหม้อไอน้ำ
มีการตรวจสอบระบบการทำงานและอุปกรณ์ความปลอดภัย ตามระยะเวลาและมาตราฐานความเหมาะสมที่กำหนดไว้
การตรวจสอบประจำปี ควรตรวจสอบโดยวิศวกรผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาติขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น
ควรมีการทำความสะอาดหม้อไอน้ำทั้งในส่วนที่สัมผัสน้ำและส่วนที่สัมผัสไฟ
ตรวจสอบดูว่าโครงสร้างของหม้อไอน้ำยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ มีการแตกร้าว รั่วซึม หรือเสียรูปทรงหรือไม่
ต้องทำการพิจารณาส่วนประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญของหม้อไอน้ำเป็นพิเศษ และควรถอดออกมาทำความสะอาดอยู่เสมอ ถ้าพบว่าชำรุดหรือสึกหรอ ต้องรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ในทันที
ควรทดสอบอัดน้ำที่ความดัน 1.5 เท่าของความดันการใช้งาน






วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้าง
มาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มี
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"

ประวัติความเป็นมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่คอมพิวเตอร์จาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก เครือข่ายที่ใช้งานจริง จึงได้เปลี่ยนเป็นเครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนมเป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP
ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลียซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ ” หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชารและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
1. ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ห่างไกลกันด้วยตัวหนังสือทางอีเมล์ แชท SMS ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก
2. ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ห่างไกลกันด้วยการพูดคุย ผ่านทางโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต หรือวอยซ์เมล์ ซึ่งราคาถูกกว่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้
3. รับส่งแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์
4. รับรู้ข่าวสาร ข่าวประจำวัน สรุปข่าว ตรวจสภาพอากาศ ราคาหุ้น ข้อมูล หลายๆ อย่างได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
5. ค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้ หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานราชการ ข้อมูลของบริษัทในประเทศและต่างประเทศ
6. ให้ประโยชน์ทางการศึกษา เผยแพร่บทความ งานวิจัย รายงาน ตั้งกระทู้ถามตอบปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีเสวนา
7. สั่งซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ ซื้อคอมพิวเตอร์ ซื้อหนังสือ ซีดีเพลง อาหาร ได้อย่างสะดวกไม่ต้องเดินทาง
8. ซื้อโปรแกรมได้อย่างสะดวกและประหยัด
9. เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ทำเว็บไซต์เชิงพาณิชย์สำหรับขายสินค้า หรือบริการ
10. เปิดโลกทัศน์ด้วยข้อมูลที่แปลกใหม่ จากการอ่านข่าว กระทู้ อีเมล์ กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
11. ทำธุรกรรมทางธนาคาร ถามยอดบัญชี ขอ Statement โอนเงิน ฯลฯ
12. โฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง บริษัท หรือองค์กรให้คนทั่วโลกได้รู้
13. ใช้เพื่อความบันเทิง เล่นเกมส์ ฟังเพลง ดูมิวสิกวีดีโอ อ่านเรื่องขำขัน ฯลฯ



โทษของอินเทอร์เน็ต
-เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย,ข้อมูลไม่ดีไม่ถูกต้อง,แหล่งประกาศซื้อขายของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ
-มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวงกลั่นแกล้งจเพื่อน
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
-เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสารเพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิดหรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
-ทำให้เสียสุขภาพเวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆโดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว


โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553



การใช้น้ำมันสกัดเพื่อสุขภาพและการบำบัด


-การนวดเป็นวิธีการหนึ่งในการใช้น้ำมันสกัดโดยการหยด 5-10 หยด กับการนวดพื่อผ่อนคลาย จะช่วยให้รู้สึกสดชื่น


-การอาบเป็นวิธีที่ดีในการผ่อนคลายจากการทำงาน โดยผสมน้ำมันแอล 20 มิลลิลิตรกับน้ำมันสกัดอื่นๆ 10 หยดกับน้ำครึ่งอ่าง น้ำมันจะชึมเข้าสู่ผิวหนังช่วยให้รู้สึกมีชีวิตชีวา


-การสูดดมเป็นวิธีการที่ดีในการช่วยในกรณีคัดจมูก โดยการหยดน้ำมันสกัดยูคาลิปตัส 5 หยดในน้ำร้อนแล้วทำการสูดดม 5-10 นาที


-บำรุงผิวเป็นวิธีการใหม่ในการใช้น้ำมันสกัด โดยการผสมน้ำมันสกัด 15-20 หยดลงในครีมบำรุงผิว


อันตรายจากโรคอ้วน

โรคอ้วนจะทำให้เกิดโรคมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หลอดเลือดตีบ ข้อเสื่อม นิ้วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้น เห็นมั๊ยหละค่ะว่าโรคนั้นอันตรายมากแค่ไหน อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วนนะค่ะ ดูแลสุขภาพให้ดีๆ ออกกำลังกายเยอะๆทานอาหารที่มีประโยชน์นะค่ะ


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคนเป็นเบาหวาน

กลุ่มที่ห้ามรับประทาน

-น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง

-ขนมหวาน ของเชื่อมต่างๆ

-ผลไม้กวน

-น้ำหวาน น้ำอัดลม

-ขนมคบเคี้ยวต่างๆ


วิธีลดน้ำหนักและบำรุงกระเพาะ


ช่วงเวลาเจ็ดโมง-เก้าโมงเช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับทานอาหาร แล้วน้ำหนักจะลดการนำเอาโยเกิร์ต นมสด น้ำผึ้ง มะนาว มาผสมให้เข้ากันแล้วรับประทานในตอนเช้า จะทำให้ไขมันที่เกาะในผนังลำไส้ กระเพาะอาหาร ตับ ม้าม ที่ทำให้ระบบดูดชึมบกพร่องสลายไป จึงสามารถทำให้ระบบดูดชึมในร่างกายของเราทำงานได้ดีขึ้น


การบริหารหน้าและคอ

นำมือทั้งสองข้างดันปากแล้วอ้าปากค้างไว้นับ 30 ครั้งแล้วผ่อน แรกๆทำวันละ 2 ครั้ง

นั่งหงยหน้าขึ้นแล้วนำมือไปดันตรงปลายคางแล้วแหงนขึ้นให้รู้สึกตึงๆ ทำค้างไว้นับ 30 ครั้งแล้วผ่อนลง