อินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้าง
มาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มี
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"

ประวัติความเป็นมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่คอมพิวเตอร์จาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก เครือข่ายที่ใช้งานจริง จึงได้เปลี่ยนเป็นเครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนมเป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP
ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลียซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ ” หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชารและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
1. ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ห่างไกลกันด้วยตัวหนังสือทางอีเมล์ แชท SMS ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก
2. ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ห่างไกลกันด้วยการพูดคุย ผ่านทางโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต หรือวอยซ์เมล์ ซึ่งราคาถูกกว่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้
3. รับส่งแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์
4. รับรู้ข่าวสาร ข่าวประจำวัน สรุปข่าว ตรวจสภาพอากาศ ราคาหุ้น ข้อมูล หลายๆ อย่างได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
5. ค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้ หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานราชการ ข้อมูลของบริษัทในประเทศและต่างประเทศ
6. ให้ประโยชน์ทางการศึกษา เผยแพร่บทความ งานวิจัย รายงาน ตั้งกระทู้ถามตอบปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีเสวนา
7. สั่งซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ ซื้อคอมพิวเตอร์ ซื้อหนังสือ ซีดีเพลง อาหาร ได้อย่างสะดวกไม่ต้องเดินทาง
8. ซื้อโปรแกรมได้อย่างสะดวกและประหยัด
9. เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ทำเว็บไซต์เชิงพาณิชย์สำหรับขายสินค้า หรือบริการ
10. เปิดโลกทัศน์ด้วยข้อมูลที่แปลกใหม่ จากการอ่านข่าว กระทู้ อีเมล์ กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
11. ทำธุรกรรมทางธนาคาร ถามยอดบัญชี ขอ Statement โอนเงิน ฯลฯ
12. โฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเอง บริษัท หรือองค์กรให้คนทั่วโลกได้รู้
13. ใช้เพื่อความบันเทิง เล่นเกมส์ ฟังเพลง ดูมิวสิกวีดีโอ อ่านเรื่องขำขัน ฯลฯ



โทษของอินเทอร์เน็ต
-เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย,ข้อมูลไม่ดีไม่ถูกต้อง,แหล่งประกาศซื้อขายของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ
-มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวงกลั่นแกล้งจเพื่อน
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
-เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสารเพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิดหรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
-ทำให้เสียสุขภาพเวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆโดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว


โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น